กระดูกพรุนผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน เกิดจากการสร้างและการสลายกระดูกของร่างกายไม่สมดุล ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง และแตกหักง่าย มักพบในผู้สูงอายุ เพศหญิงวัย 65 ปีขึ้นไป และเพศชายวัย 70 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าพบปัญหากระดูกหักตอนอายุมากแล้ว จะใช้เวลารักษานาน และถ้ามีปัญหากระดูกบางหรือพรุนร่วมด้วย โอกาสที่จะกลับคืนมาอาจถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ อาจต้องนอนติดเตียง หรือ ใช้อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา จึงต้องระวังเป็นพิเศษ ก่อนจะถึงวัยผู้สูงอายุ

ปัญหากระดูกหักในผู้สูงอายุ มักมีอยู่ 3 จุด คือ ข้อมือ สันหลัง และ สะโพก ซึ่งหากเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วได้รับบาดเจ็บรุนแรง อาจทำให้ได้รับความทรมาน พิการหรือเสียชีวิตได้ การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน แคลเซียมผู้สูงอายุขาด ก่อนถึงวัยชราจึงเป็นเรื่องสำคัญ ลองทำตามข้อแนะนำเหล่านี้จะช่วยได้

 

แคลเซียมต่ำทำให้กระดูกเปราะ

หากคุณอายุยังไม่ถึง 30 ปี แนะนำให้สะสมแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และต้องรับประทานอาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยเสริมแคลเซียม ไปเรื่อยๆ จนตลอดชีวิต แหล่งของแคลเซียมได้แก่ ผักใบเขียว นม ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก ปลาเล็กปลาน้อย โดยปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายของคนแต่ละวัยต้องการแตกต่างกันดังนี้

  • อายุ 9-18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม ต่อวัน
  • อายุ 19-50 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน
  • สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ต้องการแคลเซียม 1,000-1,300 มิลลิกรัม ต่อวัน
  • อายุ มากกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัม ต่อวัน

 

ออกกำลังกาย มีผลกับกระดูก

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่คุณต้องทำสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย และยังช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นดีดีขึ้นอีกด้วย ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ขี้เกียจออกกำลังกาย แนะนำว่าให้เปลี่ยนพฤติกรรมดีกว่านะ

 

เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม

น้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริก ซึ่งเกิดจากกรดฟอสฟอรัสผสมกับกำมะถัน ซึ่งหากร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป จะเกิดการสลายแคลเซียมจากกระดูกออกมา ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าจะดีที่สุด หากต้องการดื่มน้ำอัดลม ก็ไม่ควรให้มากจนเกินไป

 

สูบบุหรี่ กินเหล้า เศร้าชัวร์

คนที่ชอบสูบบุหรี่และกินเหล้าเป็นประจำ ต้องระวังเรื่องนี้เอาไว้ให้มาก เพราะการสูบบุหรี่ทำให้แคลเซียมละลายจากกระดูกได้ ส่วนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลลบต่อการกระตุ้นวิตามินดีในตับ ทำให้การดูดซึมแคลเซียมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะฉะนั้น เลี่ยงเถอะ เพื่อสุขภาพของคุณเอง

 

ถ้าลดน้ำหนักผิดวิธี เสี่ยงกระดูกพรุน

แน่นอนว่าเรื่องรูปร่างสมส่วนเป็นเรื่องที่หลายคนปรารถนา แต่หากคุณลดน้ำหนักผิดวิธีด้วยการอดอาหาร หรือโหมออกกำลังกายมากเกินไป แม้ว่าคุณจะอายุน้อยๆ อยู่ก็ตาม คำแนะนำคือ หากคุณต้องการลดน้ำหนัก ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ควบคุมอาหาร แต่ห้ามอดอาหารเด็ดขาด ถ้าสารอาหารไม่เพียงพอ ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ช่วยเพิ่มแคลเซียมผู้สูงอายุ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงไปอีกนาน

 

บทความแนะนำ

กระดูกลั่นตอนออกกำลังกาย อันตรายหรือไม่

10 เรื่องที่ควรรู้กับการทานแคลเซียมเสริม ตอบโดยแพทย์

กินแคลเซียมอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด