อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวานจัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถพบได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก หากผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีจะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้ 

โดยจากการศึกษาพบว่า การที่น้ำตาลสะสมลดลงทุก 1% จะสามารถลดการเกิดโรคไต โรคปลายประสาทอักเสบ โรคจอประสาทตาเสื่อมที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้ถึง 37% อีกทั้งยังสามารถลดการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับเบาหวานได้ 21% โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดลดลง 14% และโรคหลอดเลือดสมองได้ 12% 

 

ความสำคัญของการดูแลโรคเบาหวานด้วยอาหารทางการแพทย์

ในปัจจุบัน แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาโรคเบาหวานของ American Diabetes Association แนะนำการดูแลโรคเบาหวานออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  1. การดูแลเรื่องโภชนาการ
  2. การออกกำลังกาย
  3. การใช้ยา

 

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกราย ไม่ว่าจะเป็นโรคนี้มานานเท่าไหร่หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นอย่างไร การดูแลเรื่องโภชนาการถือเป็นเรื่องสำคัญและต้องสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมน้ำหนัก และได้สารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ

ดังนั้น สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association หรือ ADA) จึงแนะนำให้ใช้อาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Diabetes-Specific Formula : DSF) รับประทานแทนอาหารมื้อหลัก เพราะอาหารทางการแพทย์นี้มีประสิทธิภาพในการลดน้ำตาล น้ำตาลสะสม และการแกว่งของระดับน้ำตาล นอกจากนี้ยังช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในร่างกาย และลดน้ำหนัก แต่ยังได้รับสารอาหารครบถ้วน

 

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นอย่างไร

  • คาร์โบไฮเดรตมีคุณสมบัติย่อยและดูดซึมช้า มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ 
  • เป็นไขมันเชิงเดี่ยวไม่อิ่มตัว
  • กระตุ้นให้ลำไส้หลั่งฮอร์โมน Glucagon-like Peptide 1 (GLP-1)  
  • เพิ่มความไวของอินซูลิน ลดการดื้อต่ออินซูลินทำให้มีการผลิตน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดลดลง 
  • กล้ามเนื้อสามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้มากขึ้น 
  • มีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่พึ่งเป็นเบาหวานเมื่อรับประทานอาหารทางการแพทย์นี้แล้วจะลดการแกว่งของน้ำตาลและทำให้น้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานอาหารทางการแพทย์ 
  • ทำให้รู้สึกอิ่มง่ายและอิ่มนาน 

 

วิธีการรับประทานอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถใช้ได้ทุกระยะ ทุกระดับน้ำตาล สามารถรับประทานแทนอาหารหลักได้ หรือเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารมื้อหลักไม่เพียงพอ อาจรับประทานเป็นอาหารว่าง หรือก่อนนอนก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ในหนึ่งหน่วยบริโภคจะเท่ากับ 5 ช้อน นำมาละลายน้ำ 200 มิลลิลิตร จะมีสารอาหารครบถ้วน 

 

ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรดูแลโภชนการของตนเองอยู่เสมอ ให้ปริมาณน้ำตาลอยู่ในระดับที่พอดี หากใครมีอาการเบื่ออาหารหรือไม่สามารถรับประทานอาหารทั่วไปได้ จนเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร แนะนำให้รับประทานอาหารทางการแพทย์สูตรสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งจะเป็นสูตรที่มีสารอาหารครบถ้วน มีปริมาณคาร์โบไฮเดตรตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและมีดัชนีน้ำตาลต่ำ โดยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อมารับประทาน



ผู้เขียน

สิราวรรณ ล้วนสุธรรม 

เภสัชกร

 

อ่านอะไรต่อดี ?

9 Checklist ประเมินอาการเสี่ยงโรคเบาหวาน

5 ผลไม้น้ำตาลต่ำ คนเป็นเบาหวานทานได้ ช่วยลดน้ำหนัก

3 โรคร้าย ที่แฝงอยู่ใน “ชานมไข่มุก”

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง