ยาละลายเสมหะ กับ ยาขับเสมหะ

เสมหะเป็นอาการพบได้บ่อยในโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคคออักเสบ โรคกรดไหลย้อน โรคหอบหืด รวมถึงการสูบบุหรี่ ซึ่งเชื่อว่าหากมีอาการนี้จะส่งผลให้เกิดความรำคาญและอึดอัดบริเวณคอได้

ตัวช่วยหนึ่งในการบรรเทาอาการเสมหะนี้คือการใช้ยาละลายเสมหะและยาขับเสมหะ แต่หลาย ๆ คนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยาว่า ยาทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันหรือใช้แทนกันได้ไหม ดังนั้นวันนี้จะชวนมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับยาทั้งสองชนิดนี้กัน

 

ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)

การออกฤทธิ์

ตัวยามีการออกฤทธิ์โดยตรงต่อเสมหะ โดยทำให้เสมหะมีความเหนียวน้อยลง

ตัวอย่างยา

ตัวยาที่มีฤทธิ์ละลายเสมหะ เช่น Bromhexine, Ambroxol, Acetylcysteine, Carbocysteine

 

ยาขับเสมหะ (Expectorants)

การออกฤทธิ์

ตัวยาทำให้ระบบทางเดินหายใจหลั่งของเหลวมากขึ้น ทำให้เสมหะมีความเหนียวลดลงแต่มีมวลมากขึ้น ส่งผลให้สามารถขับเสมหะได้ง่ายขึ้น หรือพูดง่าย ๆ คือเพิ่มน้ำให้กับเสมหะนั้นเอง

ตัวอย่างยา

ตัวยาที่มีการออกฤทธิ์ขับเสมหะ เช่น Guaifenesin, Potassium Guaiacolsulphonate, ชะเอมเทศ, มะขามป้อม, มะแว้ง เป็นต้น

 

ยาละลายเสมหะ กับ ยาขับเสมหะ ไม่เหมือนกันอย่างไร ? 

จากที่กล่าวมาข้างต้นเราจะสังเกตได้ว่ายาละลายเสมหะเเละยาขับเสมหะมีการออกฤทธิ์ในการบรรเทาอาการเสมหะคนละแบบกัน แต่ทั้งนี้สามารถใช้แทนกันได้เนื่องจากสามารถทำให้เสมหะเหนียวข้นน้อยลง 

โดยแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วยกับการใช้ยาต่าง ๆ เช่น หลีกเลี่ยงอาหารมันอาหารทอดที่สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณคอ การดื่มน้ำอุ่มสามารถช่วยละลายเสมหะและบรรเทาอาการไอได้ นอกจากนี้ หากเรามีอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ เภสัชแนะนำให้พบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม เพื่อจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

 

 

ผู้เขียน 

จิตริน ฟองสถาพร

เภสัชกร 

 

อ่านอะไรต่อดี ?

รู้ก่อนใช้ ! ยาแก้ไอมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร ?

ลืมยาไว้ในรถ ใช้ต่อได้ไหม หรือควรทิ้งทันที ?

มะขามป้อม มีดีกว่าแค่ยาแก้ไอ แต่ยังมีสารต้านมะเร็ง !

 

ปรึกษาเภสัชกร ไม่มีค่าใช้จ่าย

บริการของทาง Fascino ร้านยาที่มีกว่าร้อยสาขาทั่วไทย อบรมเภสัชกรให้มีคุณภาพระดับสากล สามารถสอบถามปัญหาสุขภาพ การใช้ยาโดยตรงกับเภสัชกรและพนักงานที่มีประสบการณ์นับสิบปีแบบส่วนตัวได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย